ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม
ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดมหาสารคาม
จุดเด่นความเป็น ”ตักสิลานคร” ที่จังหวัดมหาสารคามมีสถาบันการศึกษาระดับสูงสุดหลายแห่ง สามารถผลิตทรัพยากรแรงงานระดับคุณภาพที่จะตอบสนองความต้องการทางเทคโนโลยีและธุรกิจได้ สามารถผลิตบุคคลกรสายอาชีพครูระดับปริญญาโทและปริญตรี และยังสามารถผลิตบุคคลกรสายช่างสาขาต่าง ๆ ในระดับ ปวช. ปวส. และบุคลากรในด้านพาณิชย์บัญชีและคอมพิวเตอร์ทั้งระดับ ปวช. ปวส. ปริญญาตรีและปริญญาโท(สาขาบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยมหาสารคาม) จึงถือได้ว่าจังหวัดมหาสารคาม เป็นฐานการฝึกอบรมทักษะด้านช่างและด้านการจัดการธุรกิจที่มีศักยภาพสูงจังหวัดหนึ่งในระยะหลังสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และสถาบันราชภัฎมหาสารคาม ซึ่งแต่เดิมผลิตบุคลากรสายอาชีพครูเป็นหลัก ได้เริ่มเน้นที่จะปรับปรุงเพิ่มเติมการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการจัดการธุรกิจมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการทางเศรษฐกิจและแนวทางการพัฒนาประเทศ จึงเป็นจุดเด่นของมหาสารคาม ที่จะเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและฝึกอบรมฝีมือแรงงานในระดับภูมิภาคและประเทศได้
โดยทั่วไป จังหวัดมหาสารคามมีพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 130 – 230 เมตร ทิศตะวันตกและทิศเหนือเป็นที่สูงในเขตอำเภอโกสุมพิสัย อำเภอเชียงยืน และอำเภอกันทรวิชัย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของจังหวัด และค่อย ๆ เทลาดมาทางทิศตะวันออกและทิศใต้[3]
สภาพพื้นที่แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ
1. พื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ — ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มริมน้ำ เช่น ที่ราบลุ่มริมแม่น้ำชี ในบริเวณอำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอโกสุมพิสัย และทางตอนใต้ของจังหวัดแถบชายทุ่งกุลาร้องไห้
2. พื้นที่ค่อนข้างราบเรียบสลับกับลูกคลื่นลอนลาด — ตอนเหนือของอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย เป็นแนวยาวไปทางตะวันออก ถึงอำเภอเมืองมหาสารคาม
3. พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดสลับกับพื้นที่ลูกคลื่นลอนชัน — ตอนเหนือและตะวันตกของจังหวัด บริเวณนี้มีเนื้อที่ประมาณครึ่งหนึ่งของจังหวัด
จังหวัดมหาสารคามมีพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 130 – 230 เมตร ทิศตะวันตกและทิศเหนือเป็นที่สูงในเขตอำเภอโกสุมพิสัย อำเภอเชียงยืน และอำเภอกันทรวิชัย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของจังหวัด และค่อย ๆ เทลาดมาทางทิศตะวันออกและทิศใต้
ด้านสังคมและเศรษฐกิจ
อาชีพส่วนใหญ่ของชาวมหาสารคามนั้นก็คล้ายกับชาวอีสานทั่วไป กล่าวคือ ประชาชนประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ เลี้ยงไหม และเลี้ยงสัตว์ ด้วยอาศัยพืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ปอแก้ว ปอกะเจา และหม่อน เป็นต้น ทรัพยากรที่สำคัญของเมืองนี้ได้แก่ ป่าไม้ อันประกอบด้วย ไม้เต็ง ไม้รัง และไม้พลวง และแร่ธาตุสำคัญนั้นไม่ปรากฏนอกจากเกลือสินเธาว์จำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีการปลูกอ้อย แต่ไม่มากนัก เนื่องจากสภาพทางภูมิศาสตร์เป็นที่ราบและมีทุ่งหญ้ารวมทั้งผืนนาที่กว้างขวาง จึงทำให้มหาสารคามา เหมาะที่จะทำการเลี้ยงสัตว์ แต่ก็ไม่ปรากฏสถิติทางด้านนี้มากนัก ทั้งนี้อาจเป็นเพาะอาชีพทางปศุสัตว์ยังไม่รับการสนับสนุนและมีการลงทุนมากก็เป็นได้
การสหกรณ์ซึ่งถือว่าเป็นกิจการที่จะช่วยอุ้มชูสภาพทางเศรษฐกิจของมหาสารคามได้มากก็มี 3 ประเภท คือสหกรณ์การเกษตร 11 แห่ง สหกรณ์ออมทรัพย์ 2 แห่ง และสหกรณ์ร้านค้าอีก 2 แห่ง การดำเนินการสหกรณ์ก็เป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 5 ซึ่งวางเป้าหมายไว้ว่า ให้สมาชิกสหกรณ์ได้รับผลประโยชน์มากที่สุดในด้านสืนเชื่อและการซื้อขายรวมไปถึงการปรับปรุงบำรุงที่ดิน เพื่อสร้างคลอดส่งน้ำให้แก่สมาชิกและบุคคลทั่วไปอีกด้วย
ทางด้านอุตสาหกรรมนั้น ก็มีผลผลิตทางการเกษตรมาเปลี่ยนเป็นรูปของผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม กล่าวคือมหาสารคาม มหาสารคามมีโรงงานอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 1,261 โรง ซึ่งมีทั้งโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ตั้งกระจัดกระจายอยู่ตามชุมชนต่าง ๆ และหากเปรียบเทียบกับจังหวัดใกล้เคียงแล้ว การอุตสาหกรรมของมหาสารคามยังถือว่าต้องมีการพัฒนาให้เติบโตเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ต่อไปได้ เมื่อเปรียบเทียบจำนวนประชาชนและสภาพทางเศรษฐกิจที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ส่วนทางพาณิชยกรรมนั้น นอกจากผลผลิตที่ส่งเข้าโรงงานอุตสาหกรรมดังกล่าวแล้ว สินค้าบางชนิด เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ปอ ยังส่งไปจำหน่ายในจังหวัดขอนแก่น และอีกบางส่วนเช่น ข้าวสารและมันอัดเม็ดนั้นก็ส่งเข้ากรุงเทพฯ ธนาคารพาณิชย์ที่เปิดบริการในจังหวัดมหาสารคามขณะนี้มี 8 สาขา คือ ในเขตอำเภอเมือง 5 สาขา และในเขตอำเภอรอบนอกอีก3สาขา นอกจากนี้ก็มี ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร รวมทั้งธนาคารออกสินอีก 5 สาขา ซึ่งถือว่ายังน้อยมากเมื่อเทียบกับการ เจริญเติบโตของเมืองและสภาพทางเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัว (กองบรรณาธิการนิตยสาร. 2527 : 130-131)
อาชีพสำคัญของชาวมหาสารคามก็คือ การเกษตร มีพื้นที่ถือครองเพื่อการเกษตร จำนวน 2,367,434 ไร่ หรือ 65.76% ของเนื้อที่ทั้งจังหวัด เนื้อที่เกษตรกรรมจำนวนนี้เป็นที่นา 1,625,959 ไร่ เนื้อที่ปลูกพืชไร่ 622,403 ไร่ นอกจากนั้นเป็นเนื้อที่ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น ปลูกหม่อน ปลูกผัก เมื่อฤดูการเพาะปลูกปี พ.ศ. 2520/2521 มหาสารคามทำนาในเนื้อที่ 1,733,673 ไร่ ได้ผลผลิตนาปี 201,090 ตัน มันสำปะหลังเนื้อที่ 236,322 ไร่ ได้ผลผลิต 326,784 ตัน ปอแก้ว เนื้อที่ปลูก 137,221 ไร่ ผลิตผล 24,071 ตัน ถั่วลิสง เนื้อที่ปลูก 110 ไร่ ผลผลิต 11 ตัน นอกจากนี้ก็มีการปลูกพืชไร่อย่างอื่นอีกมาก โดยเฉพาะที่อำเภอบรบือมีการปลูกมันแกวมากที่สุด เป็นสินค้าพืชไร่สำคัญส่งไปขายทั่วภาคอีสาน รองลงมาก็มีการปลูกยาสูบพันธุ์เตอร์กิช ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ยากีช
นอกจากอาชีพทางการเกษตรแล้ว ชาวมหาสารคาม ยังประกอบอาชีพในด้านการทำเกลือสินเธาว์กันมาก โดยเฉพาะในเขตอำเภอบรบือและอำเภอวาปีปทุม การทำเกลือสินเธาว์นี้ได้เริ่มกันอย่างจริงจังเมื่อปี พ.ศ. 2514 นี่เอง แรกทีเดียวมีเกษตรกรชาวบรบือคนหนึ่งอยู่ใกล้กับอ่างเก็บน้ำหนองบ่อ ได้เจาะน้ำบาดาลเพื่อนำมาเลี้ยงหมู แต่ปรากฏว่าน้ำที่ได้ขึ้นมามีรสเค็มจัดมาก เกษตรกรผู้นั้นจึงเปลี่ยนใจมาทำนาเกลือสินเธาว์ขายได้กำไรร่ำรวยอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้ชาวบ้านแตกตื่นหันมาทำเกลือสินเธาว์กันมาก สถิติเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2523 มีการทำบ่อเกลือ 34 ราย มีชาวบ้านประกอบอาชีพด้านนี้ประมาณ 500 คน ผลิตเกลือสินเธาว์ได้ถึงปีละ 84,000 ตัน
ชาวมหาสารคามอีกส่วนหนึ่งมีอาชีพในด้านการผลิตสินค้าพื้นเมือง ที่มีชื่อเสียงได้แก่ การทอผ้า ซึ่งมีทั้งผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้ามัดหมี่ ผ้าขิด ตีนซิ่น รวมทั้งการปลูกหม่อน เลี้ยงไหมกันด้วย การทอผ้านี้มีทั่วไปทุกอำเภอเป็นงานที่ทำในยามว่างจากการเพาะปลูก ส่วนที่อำเภอโกสุมพิสัยมีการทอเสื่อจากต้นผือ ต้นกก ต้นไหล ทั้งที่ปลูกเองและหาซื้อจากถิ่นอื่น เสื่อโกสุมพิสัยมีชื่อเสียงมาก ส่วนที่ บ้านหม้อ ซึ่งอยู่ใกล้กับหนองเลิง อันเป็นหมู่บ้านชานเมืองมหาสารคาม ชาวถิ่นเดิมในหมู่บ้านนี้เป็นชาวโคราช มีอาชีพหลักในการปั้นหม้อขาย มหาสารคามมีผลิตภัณฑ์มวลรวมปี พ.ศ. 2528 เป็นเงิน 5,791.4 ล้านบาท รายได้เฉลี่ยประชากรต่อคนต่อปี 6,837 บาท (ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ. พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2533. โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิชย์.)